ในโรงงานหลายประเภท เช่น โรงงานทอผ้า โรงเลื่อยไม้ โรงงานปั๊มโลหะ ฯลฯ พนักงาน ต้องสัมผัสกับเสียงดังตลอดระยะเวลาการทำงาน ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินและผลเสียอื่นๆ ต่อ ร่างกายได้
อันตรายจากเสียงดัง
1. การสูญเสียการได้ยิน มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากรับฟังเสียงดังมากๆ ในระยะเวลา ไม่นานนัก ทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะคืนสู่สภาพปกติได้
1.2 การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ต้องรับฟังเสียงดังเป็นระยะ เวลานาน ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ
2. ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
2.1 เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
2.2 รบกวนการนอนหลับ
2.3 ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
2.4 ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
2.5 เป็นอุปสรรคในการทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
เสียงดังแค่ไหนจึงจะเกิดอันตราย!
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม กำหนดให้ระดับความดังของเสียงได้รับติดต่อกันไม่ เกิน 90เดซิเบล(เอ) ในระยะเวลาการทำงานไม่เกินวัน ละ 8 ชั่วโมง และไม่เกิน 80เดซิเบล(เอ) หากทำงานเกิน วันละ 8 ชั่วโมง ผู้ที่ทำงานที่มีเสียงดังตามที่กำหนดใน มาตรฐานดังกล่าวข้างต้นนี้ จะมีความเสี่ยงต่อการ สูญเสียสมรรถภาพการได้ยินน้อยลงอีก หากสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันไว้ด้วย
วิธีป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
1. ปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดเสียงจากเครื่องจักร อุปกรณ์หรือแหล่งที่ทำให้เกิดเสียงดัง
2. สวมอุปกรณ์ป้องกันหูตลอดเวลาการทำงาน
3. เผยแพร่ความรู้เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงอันตรายของเสียงและประโยชน์ของการใช้ อุปกรณ์ป้องกันหู
4. ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานที่ต้องสัมผัสกับเสียงดัง
5. ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อไม่ให้ระดับความดังของเสียงเกินมาตรฐานที่ กำหนด
ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน
1. ปลั๊กอุดหู (Ear Plugs) จะสามารถลดเสียงที่มีความถี่สูงที่จะเข้าถึงหูได้ถึง 25-30 เดซิเบล จึงสามารถใช้ป้องกันได้เพียงพอในที่ซึ่งมีระดับความดังของเสียงไม่เกิน 115-120 เดซิเบล
2.ครอบหู (Ear Muff) จะสามารถป้องกันเสียงได้สูงกว่าปลั๊กอุดหูประมาณ10-15 เดซิเบล ซึ่งสามารถลดเสียงได้ 35-40 เดซิเบล ดังนั้น จึงใช้ป้องกันได้ในที่ซึ่งมีระดับความดังของเสียงถึง 130-135 เดซิเบล |